สมเด็จพระญาณสังวร  สมเด็จพระสังฆราช  สกลมหาสังฆปริณายก

เจ้าอาวาสลำดับที่ ๖

 

     ครั้นออกพรรษาแล้ว ก็ยังเพลินอยู่ในชีวิตพรหมจรรย์ หลวงพ่อจึงชักชวนให้ไปเรียนภาษาบาลี คือเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดเสน่หา ในจังหวัดนครปฐม หลวงพ่อบอกว่า “เพื่อว่าต่อไปจะ ได้กลับมาสอนที่วัดเทวสังฆาราม และจะสร้างโรงเรียน พระปริยัติธรรมเตรียมไว้ให้” เมื่อสามเณร และญาติโยมยินยอม หลวงพ่อจึงได้พาเจ้าพระคุณสมเด็จ ไปฝากไว้กับพระครูสังวรวินัย (อาจ) เจ้าอาวาสวัดเสน่หา เมือวันที่ ๒๐ มิถุนายน ..๒๔๗๐  เจ้าพระคุณสมเด็จ จึงได้เริ่มเรียนบาลี ไวยากรณ์ที่วัดเสน่หา ในพรรษาศกนั้น โดยมีพระเปรียญจากวัดมกุฎกษัตริยาราม กรุงเทพ ไปเป็นอาจารย์สอน เมื่อออกพรรษาแล้ว อาจารย์สอนภาษาบาลีที่วัดเสน่หาเห็นแววของเจ้าพระคุณสมเด็จ ว่าจะเจริญก้าวหน้าในทางการศึกษาต่อไป จึงชักชวนให้เจ้าพระคุณสมเด็จ ไปอยู่วัดมกุฎกษัตริยาราม เพื่อจักได้เล่าเรียนได้สูง ยิ่งขึ้นไป และอาจารย์ท่านนั้นก็ได้ติดต่อทางวัดมกุฎกษัตริย์ไว้ให้เรียบร้อยแล้วด้วย แต่เมื่อเจ้าพระคุณสมเด็จ นำเรื่องนี้ไปปรึกษาหลวงพ่อที่วัดเหนือ หลวงพ่อไม่เห็นด้วย เพราะหลวงพ่อคิดไว้ว่าจะพา เจ้าพระคุณสมเด็จ ไปฝากไว้ที่วัด บวรนิเวศวิหารอยู่แล้ว จึงเป็นอันยกเลิกที่จะไปอยู่วัดมกุฎกษัตริย์ เจ้าพระคุณสมเด็จ จึงอยู่ จำพรรษาเรียนบาลีต่อไปที่วัดเสน่หาอีกหนึ่งพรรษา

        ..๒๔๗๒ หลังออกพรรษาแล้ว เจ้าพระคุณสมเด็จ ได้กลับไปพัก วัดเทวสังฆาราม ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เพื่อเตรียมตัวเข้าไปอยู่กรุงเทพ

        วันที่ มิถุนายน ..๒๔๗๒  หลวงพ่อวัดเหนือได้พาเจ้าพระคุณสมเด็จ โดยสารรถไฟ จากกาญจนบุรี มากรุงเทพ แล้วพาไปยังวัดบวรนิเวศวิหาร แล้วนำเจ้าพระคุณสมเด็จ ขึ้นเฝ้าถวาย ตัวต่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จ พระวชิรญาณวงศ์ เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เพื่ออยู่ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักวัดบวรนิเวศ วิหารต่อไป สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ได้ทรงพระเมตตารับไว้ และทรงมอบให้อยู่ในความปกครองของพระครูพุทธมนต์ปรีชา (เฉลิม  โรจนศิริ ภายหลังลาสิกขา) หลังจากทรงเข้ามาอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ไม่นาน ทรงปฏิบัติตามกฎกติกาของวัดครบถ้วนแล้ว ก็ทรงได้รับประทานนามฉายาจากสมเด็จพระสังฆราช    เจ้า ว่า “สุวฑฒโน” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้เจริญดี”

        เจ้าพระคุณสมเด็จ ได้ทรงบันทึกเล่าเหตุการณ์เกี่ยวกับการเข้ามาอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร ของพระองค์ไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง บันทึกของพระองค์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า พระองค์ประสบ ความสำเร็จในช่วงต้นของชีวิตพรหมจรรย์และการศึกษาก็เพราะทรงได้พระอาจารย์และผู้ปกครองที่ดี พระอาจารย์ของพระองค์ในช่วงนี้ก็คือ พระครูพุทธมนต์ปรีชา (เฉลิม) ส่วนผู้ปกครองของพระองค์ ในช่วงนี้ก็คือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ดังที่ทรงกล่าวถึงท่านทั้งสองไว้ว่า พระครูพุทธมนต์ปรีชา เป็นผู้มีกิริยาวาจาอ่อนหวาน ใจแข็ง รู้จักกาละเทศะ รู้จักการควรไม่ควร มีเชาว์ไวไหวพริบ มีคารวะต่อผู้ใหญ่ ไม่ตีตัวเสมอแม้กับผู้ใหญ่ที่คุ้นเคยเป็นกันเอง รู้จักพูดให้ผู้ใหญ่เชื่อ เมื่อถึงคราวต้องเป็นหัวหน้าจัดการงาน วางตนเป็นผู้ใหญ่เต็มที่สมแก่ฐานะมีความสามารถ ในการจัดการงานให้สำเร็จ ฉลาดในการปฏิสันถารในการทำงาน จะไม่ปล่อยให้ศิษย์ทำในสิ่งที่ ไม่แน่ใจว่าศิษย์จะทำได้ดี เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น กับศิษย์ของตน แนะนำสั่งสอน ศิษย์ให้รู้จักวางตัวให้พอเหมาะ ยกย่องศิษย์ให้เป็นที่ปรากฏในหมู่เพื่อนฝูง กล่าวโดยสรุปก็คือ เป็นผู้มีน้ำใจและมีสัปปุริสธรรม ควรเอาเป็นแบบอย่างในทางดีได้

        ส่วนสมเด็จพระสังฆราชเจ้า นั้น ทรงมีพระเมตตาต่อภิกษุสามเณรทั่วไป โดยเฉพาะสามเณร ที่มาจากบ้านนอกดูจะมีพระเมตตาเป็นพิเศษ สามเณรทุกรูปจะต้องถูกจัดเวรอยู่ ปฏิบัติถวายงานสมเด็จพระสังฆราชเจ้า สับเปลี่ยนกันไปทุกวัน สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงมีวิธีที่จะฝึกสอนสามเณรให้มีความรู้ความฉลาดในเรื่องต่าง ด้วยพระเมตตาเสมอ เช่น ทรงฝึกให้สามเณรอ่านหนังสือพิมพ์ หากสามเณรรูปใดอ่านไม่คล่องหรือไม่ถูก ก็จะทรงอ่าน ให้ฟังเสียเอง ทรงฝึกให้สามเณรหัดคิด หัดสังเกต และหัดทำสิ่งต่าง ที่จะเป็นการฝึกความเฉลียวฉลาด หากสามเณรทำผิดหรือทำไม่ถูก พระองค์ก็จะทรงทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เจ้าพระคุณสมเด็จ ก็ทรงถูกฝึกในลักษณะดังกล่าวนี้อยู่บ่อย เช่นทรง       เล่าว่า ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระสังฆราชเจ้า รับสั่งให้เอากระดาษทำลองข้างในขวด แต่เจ้าพระคุณ     สมเด็จ ไม่เข้าพระทัย เอากระดาษไปรองก้นขวด พอทอดพระเนตรเห็นเข้าก็รับสั่งว่า “เณรนี่ก็โง่เหมือนกัน” แล้วก็ทรงทำให้ดู

        จากการแนะนำสั่งสอนและการปฏิบัติพระองค์และปฏิบัติตนให้เห็นเป็นตัวอย่างของ พระอาจารย์ทั้งสองท่านดังกล่าวแล้ว ทำให้เจ้าพระคุณสมเด็จ รู้จักคิดรู้จักสังเกตและจดจำ เอามาเป็นเยี่ยงอย่างในการพัฒนาพระองค์เอง