พระโพธิฆระ
พระโพธิฆระ เป็นสิ่งก่อสร้างที่แสดงอาณาเขตของต้นโพธิเพื่อให้เป็นพื้นที่หรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
โดยแส ดงความสำคัญของพื้นที่นั้นออกจากพื้นที่สามัญด้วยการทำรั้วหริอกำแพงล้อมรอบ
ศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ของโพธิฆระจึงเป็นส่วนหนึ่งของบริเวณที่เรียกว่า โพธิมณฑล
ซึ่งหมายถึงตำแหน่งหรือบริเวณโดยรอบต้นโพธิตรัสรู้
และเป็นสถานที่เสวยวิมุติสุขหลังการตรัสรู้ในสัปดาห์แรก พระโพธิฆระที่วัดบวรนิเวศนี้เป็นฐานต้นพระศรีโพธิซึ่งมีทับเกษตรล้อมรอบ
อยู่ด้านหลังวิหารพระศาสดาทางห้องพระไสยา การสร้างพระโพธิฆระสำหรับต้นพระศรีมหาโพธินี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชดำริขึ้น โดยทรงได้แบบอย่างมาจากลังกา
เพราะทรงรู้เรื่องของพุทธศาสนาในลังกาเป็นอย่างดี โดยแต่เดิมในบริเวณโพธิฆระนี้เป็นที่ตั้งคณะลังกา
ที่พักของสมณทูตชาวลังกาที่เข้ามาสืบข่าวพระศาสนาตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๓
ต่อมาโปรดให้ถมและรื้อคณะลังกาเพื่อสร้างวิหารพระศาสดา ต้นพระศรีมหาโพธินี้เป็นบริโภคเจดีย์ที่เกี่ยวเนื่องกับสมเด็จพระสัมมาสัม พุทธเจ้า
ต้นพระศรีมหาโพธิต้นนี้เป็นต้นพระศรีมหาโพธิที่ได้พันธุ์จากพุทธคยา
อินเดีย สังเวชนียสถานที่ตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในปลายรัชกาลที่ ๔
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เม็ดพันธุ์พระศรีมหาโพธิจากพุทธคยาแล้วทรงเพาะเป็นต้นขึ้น
พระราชทานมาปลูกที่วัดบวรนิเวศวิหารต้น ๑ ต้นพระศรีมหาโพธินี้เป็นพระศรีมหาโพธิรุ่นแรกในประเทศไทยที่ได้พันธุ์มาจากต้นพระศรีมหาโพธิที่พุทธคยา
แต่เดิมพระศรีมหาโพธิที่อัญเชิญมาปลูกในประเทศไทยนั้นก่อนรัชกาลที่ ๔
ขึ้นไป ได้พันธุ์มาจากลังกาทั้งสิ้น พระศรีมหาโพธิต้นนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงปลูกในสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ทรงครองวัดปรากฏตามข้อความในตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร
ว่า
.ทรงปลูกพระศรีมหาโพธิอันค้างมาแต่รัชกาลที่ ๔
ต่อมาพระโพธิฆระได้ทรุดโทรมไปตามกาลเวลาจ นที่สุดได้ถูกรื้อลง
คงเหลือแต่ฐานต้นพระศรีมหาโพธิแต่รื้อลงเมื่อใดไม่ปรากกหลักฐานแน่ชัด
ในพุทธศักราช ๒๕๒๒ สมเด็จพระญาณสังวร จึงได้ให้ก่อสร้างพระโพธิฆระขึ้นใหม่ตามรูปลักษณะเดิมจากภาพถ่าย
ในพุทธศักราช ๒๕๒๕ หลังจากสร้างพระโพธิฆระเสร็จประมาณ ๑ ปี ต้นพระศรีมหาโพธิ
ซึ่งมีอายุราว ๑๐๐ ปี ได้ตายลงตามอายุขัยของต้น ในวันที่ ๖ กรกฎาคม
พุทธศักราช ๒๕๒๕ ซึ่งเป็นวันปลูกต้นไม้แห่งชาติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงปลูกหนอกล้าโพธิซึ่งเกิดใต้ต้นพระศรีมหาโพธิต้นเดิมที่ตายลง
พระพุทธรูปศิลาแลง ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด
เดิมแตกหักเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย กระจายอยู่ในที่ต่าง ๆ
มีผู้เก็บมาถวายเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ทีละชิ้น จึงโปรดให้ประกอบกันเข้า
ก็ปรากฏเป็นองค์พระพุทธรูปสมบูรณ์และงดงาม
จึงโปรดให้สร้างซุ้มที่ประดิษฐานไว้ ณ โพธิฆระด้านหลังพระวิหารพระศาสดา
ศาลาวชิรญาณ วัดบวรนิเวศวิหาร ๑๕๐
ปี
ศาลาวชิรญาณ วัดบวรนิเวศวิหาร
๑๕๐ ปี เป็นศาลาทรงไทย
๒ ชั้น หลังคามีชั้นลด และมีช่อฟ้าใบระกา ขนาดกว้าง ๑๑.๕๐
เมตร ยาว ๒๑.๗๕ เมตร ชั้นล่างกั้นเป็นห้อง ๕ ห้อง
สำหรับให้พระภิกษุอยู่จำพรรษาได้ ชั้นบนเป็นโถง สำหรับเป็นที่บำเพ็ญกุศล
เป็นที่ประชุม ออกแบบโดยหม่อมราชวงศ์มิ ตรารุณ เกษมศรี
หน้าบันมุขประเจิดประดับตราพระมหามงกุฎซึ่งเป็นตราพระราชสัญลักษณ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๔ ผู้ทรงครองวัดนี้เป็นองค์แรก
และศาลานี้สร้างขึ้นในระยะเวลาที่วัดบวรนิเวศวิหารได้รับการสถาปนามาได้ ๑๕๐
ปี นับแต่ปีที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ขณะยังทรงผนวชเสด็จมาครองวัดนี้ เป็นเหตุให้วัดนี้ได้รับพระราชทานนามว่า
วัดบวรนิเวศวิหาร
และพระองค์ทรงดำรงฐานะผู้ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหารเป็นพระองค์แรก
จึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญพระบรมฉายานาม วชิรญาณ
อันเป็นพระบรมฉายานามในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ครั้งทรงผนวช เป็นนามของศาลาที่สร้างขึ้นใหม่นี้ว่า ศาลาวชิรญาณ
อนึ่งศาลานี้ได้สร้างขึ้นในระยะที่มีการเฉลิมฉลองพระบรมราชจักรีวงศ์และกรุงรัตนโกสินทร์
๒๐๐ ปี
ฉะนั้นศาลานี้จึงถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองดังกล่าวนั้นด้วย
ด้วยเหตุนี้ที่หน้าศาลานี้จึงมีจารึกว่า ศาลาวชิรญาณ
วัดบวรนิเวศวิหาร ๑๕๐ เฉลิมรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๕ภายในศาลาวชิรญาณ
ประดิษฐานพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร พระแท่นเศวตฉัตร ๓ ชั้น
|